เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่า หลังจากทำศัลยกรรมไปทำไหมถึงมีรอยแผลเป็นล่ะ ก็คงจะมีแอบคิดกันในใจละสิว่าฉันจะมีแผลเป็นมั้ย ถ้ามีแล้วจะดูน่าเกลียดมั้ย โดยเฉพาะแผลเป็นในที่ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย เช่น แผลศัลยกรรมจมูก OPEN ซี่โครง ซึ่งจะมีแผลบริเวณใต้หน้าอก ศัลยกรรมหน้าอกและอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามการเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัดศัลยกรรม ก็อาจเกิดปัญหาหรือผลข้างเคียงได้เหมือนกับการผ่าตัดทั่วไป และเป็นปัญหากวนใจที่แก้ไม่ตกของทั้งคนไข้และหมอเลยก็ว่าได้
คีลอยด์ คืออะไร
มาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า “คีลอยด์” คือ เป็นแผลเป็นชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
แผลเป็นขนาดเล็ก : ที่เรียกว่า Hypertrophic Scar ขนาดความนูนของชนิดนี้มีขนาดเล็ก ลักษณะอาจจะเป็นไตแข็ง ๆ เล็กน้อยหลังการผ่าตัด
แผลเป็นขนาดใหญ่ : ที่เรียกว่า Keloid เป็นแผลที่มีลักษณะนูนใหญ่ จะเริ่มเห็นแผลนูนชัดหลังการผ่าตัด 2-3 เดือนเป็นต้นไป รอยแผลเป็นประเภทนี้จะไม่ยุบหายไปเองได้ ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นบริเวณ หู หน้าอก แขน ไหล่ ขา เป็นต้น
สาเหตุที่เกิดแผลเป็นคีลอยด์
1.มักจะเกิดจากการดูแลหลังการผ่าตัดที่ไม่ดี เช่น หลังการผ่าตัดแล้วแผลโดนน้ำในช่วงแรก หรือเกิดการแคะ แกะ เกา แผลที่ตกสะเก็ด ทำให้แผลหายช้า
2.เกิดจากพันธุกรรม สำหรับคนที่เป็นแผลเป็นง่ายอยู่แล้ว
3.เกิดจากหมอที่ผ่าตัด กรณีผ่าตัดขนาดใหญ่ อาจจะมีการเลาะผังผืด ขูดสาร อาจจะทำให้รอยแผลใหญ่กว่าปกติ ก็สามารถเกิดคีลอยด์ได้
สำหรับคนไข้ที่แก้จมูกกับหมอ ด้วยการใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเองในการแก้ จะมีแผลบริเวณใต้หน้าอก ประมาณ 3-5 เซนติเมตร แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะหมอมีเทคนิคที่ช่วยลดความตึงของแผลบริเวณใต้หน้าอก และที่สำคัญหมอกันยังมีบริการหลังจากเย็บแผลบริเวณที่ผ่าตัดซี่โครงด้วยการยิงเลเซอร์ และการฉีดยาด้วยสูตรเฉพาะของหมอ เพื่อรักษาและป้องกันการเกิดรอยของแผลเป็น
ขนาดแผลซี่โครงของหมอกัน
เทคนิคการเย็บแผลบริเวณที่ผ่าตัดซี่โครงของหมอกัน
ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ : ชั้นผิวหนัง 2 ชั้นนี้ไม่สามารถแยกจากกันได้ การเย็บผิวหนังชั้นนี้มาติดกัน จะช่วยเสริมความแข็งแรงของแผล และผิวหนังมาติดกันในแนวเดิม
ชั้นเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง : การเย็บชั้นไขมันมีผลเพียงเล็กน้อยในด้านความแข็งแรงของแผล แต่จะมีประโยชน์ในด้านลดความตึงของแผล และช่วยทางด้านความสวยงามของแผล
ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนซี่โครง : เป็นชั้นที่เย็บปิดเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนซี่โครง
ชั้นซี่โครง (ชั้นลึก) : เป็นชั้นกระดูกอ่อนซี่โครง
เทคนิคการรักษาคีลอยด์ของหมอกัน
- ฉีดยา เพื่อที่จะลดการอักเสบของการเกิดเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือที่เรียกว่า “คีลอยด์” แต่การฉีดยาเข้าไปในแผลโดยตรง ก็อาจทำให้มีอาการเจ็บจี๊ดๆเล็กน้อย ในระหว่างการฉีดยา หมอแนะนำว่าควรฉีดแผลเป็นนี้ในช่วงระยะประมาณไม่เกิน 1 ปีแรกหลังจากที่เป็นคีลอยด์ ส่วนใหญ่แล้วหมอจะนัดมาฉีดประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งความถี่ในการฉีดขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างการว่าเป็นอย่างไร
- ทำเลเซอร์ การรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดที่อ่อนโยนต่อผิวเป็นวิธีที่ปลอดภัย และสามารถช่วยให้แผลเป็นเรียบขึ้นได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำซ้ำหลายครั้ง และใช้ระยะเวลานานครับ
การรักษาคีลอยด์นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหมอ ว่าแผลเป็นนั้นเป็นแผลเป็นชนิดใด หากเป็นแผลเป็นก็จะต้องพิจารณาก่อนว่าจะรักษาอย่างให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจจะมีแผลเป็นใหญ่เกินกว่าขนาดเดิมได้ โดยทั่วไปแล้วแผลเป็นมักจะสามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้นหากรู้จักวิธีการดูแลรักษาภายหลังจากที่ได้รับแผลเป็นใหม่ๆ ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้แผลเป็นนั้นนูนเกินหรือเป็นคีลอยด์ได้ในอนาคตครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความ : การเตรียมตัวก่อนทำจมูก วิธีเตรียมตัวก่อนผ่าตัดศัลยกรรมจมูก
บทความ : การเสริมจมูก กับ ร้อยไหมจมูกแบบไหนดีกว่ากัน?
บทความ : ซิลิโคนเสริมจมูก วัสดุที่ใช้เสริมจมูก มีอะไรบ้าง?
นัดจองคิวล่วงหน้า หรือ ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่


นพ.รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (หมอกันต์) แพทย์ศัลยกรรมมือหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมความงาม การแก้ไขจมูกเทคนิค Open Reconstruction ออกแบบรูปหน้าและทรงจมูกตามหลัก Anatomy รวมถึงบริการทางด้านการดูแลผิวพรรณ เลเซอร์ โบท็อกซ์ (Botox) ฟิลเลอร์ (Filler) ร้อยไหม เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานผ่าน อย. และการผ่าตัดเสริมความงามทั่วเรือนร่าง เสริมจมูก เสริมหน้าอก ดูดไขมัน ตาสองชั้น ยกกระชับผิว เก็บกรอบหน้า ปั้นหน้าเด็ก และรักษาไฝ ฝ้า กระ จุดด่างดำ แบบครบวงจร การันตีฝีมือและผลงานด้วยรีวิวเยอะที่สุด มีมากกว่า 10,000 เคส