หลายคนเกิดความกังวลใจต่างๆและสงสัยว่า ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) อันตรายไหม? พร้อมมีคำถามมากมายเกี่ยวกับ Filler ไม่ว่าจะเป็นการตกค้าง มีพังผืด ทำให้ตาบอด จมูกเน่า และอีกหลายๆ ความกังวลใจ บทความนี้จะอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของฟิลเลอร์ที่คนส่วนใหญ่ยังสับสนและเข้าใจผิดจากข่าวตามสื่อต่างๆ ครับ
ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร
ในทางการแพทย์ ฟิลเลอร์ (Filler) หมายถึง สารฉีดเติมเต็ม (Injectible Filler) ซึ่ง ในต่างประเทศมีหลายประเภท มีอะไรบ้างตามมาดูเลยกันครับ
- HA (Hyaluronic Acid) จะเป็นฟิลเลอร์ที่นิยมและปลอดภัยที่สุด สามารถย่อยสลายได้ และสามารถฉีดใหม่ได้เรื่อยๆ มีใช้แพร่หลายทั่วโลก ก็คือ
- คอลลาเจน (Collagen) เป็นคอลลาเจนจากสัตว์ ในปัจจุบันไม่นิยมเท่าที่ควร เนื่องจากจะมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ แพ้บวมแดงได้ง่าย
- เติมไขมัน (Transplanted Fat) เป็นเทคนิคที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการเติมเต็มครั้งละจำนวนมาก ประมาณ 5 ซีซี ขึ้นไป
- Biosynthetic polymers หรือเป็นกลุ่มซิลิโคนเหลว เช่น Calcium hydroxylapatite, polymethylmethacrylate ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่สลายไม่หมด หรือที่รู้จักกันว่า ฟิลเลอร์ปลอม ไม่ปลอดภัย ไม่ผ่าน อย. จึงไม่แนะนำให้ใช้ครับ
แล้วฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อยู่ได้นานแค่ไหน?
ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือฟิลเลอร์ปลอมนั้น จะหมายถึง ฟิลเลอร์ในประเภทที่ 4 คือ Biosynthetic polymers หรือกลุ่มซิลิโคนเหลว เป็นฟิลเลอร์ที่ราคาถูกไม่สามารถย่อยสลายได้ หรือย่อยสลายไม่หมดนั่นเอง อยู่ได้นานกว่า 5 ปี นอกจากนี้ยังรวมถึงฟิลเลอร์ในประเภทที่ 1 หรือฟิลเลอร์แท้แต่ไม่ได้มาตรฐาน ราคาถูก เนื่องจากนำเข้าแบบผิดกฎหมาย ไม่ผ่าน อย. ซึ่งคุณสมบัติไม่คงตัว และย่อยสลายเร็วกว่ามาตรฐานของฟิลเลอร์
ทำไมต่างประเทศมองว่า “ฉีดฟิลเลอร์นั้นอันตราย”
ในต่างประเทศได้เหมารวม การเติมไขมัน และ ฟิลเลอร์ปลอม จัดรวมไว้ทั้งหมดในคำว่า Filler (ฟิลเลอร์) จึงทำให้มีข้อมูลจากงานวิจัยหลายๆ ฉบับในต่างประเทศให้ข้อมูลว่า ฉีดฟิลเลอร์แล้วอันตราย ฉีดแล้วเป็นก้อน ซึ่งก็มาจากเหตุผลที่ว่า ในทางสากลใช้คำว่า ฟิลเลอร์ เหมารวมไปถึงฟิลเลอร์ทั้ง 4 ประเภทที่ได้กล่าวไว้เมื่อข้างต้น
ข่าวที่ว่า “ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) แล้วหน้าพัง” จริงไหม?
จากที่ข่าวหรือสื่อต่างๆ ได้นำเสนอข่าวโดยยึดความหมายของ ฟิลเลอร์ ตามหลักของสากล ซึ่งก็จะไม่ตรงกับความหมายที่คนไทยเราส่วนใหญ่เข้าใจ จึงทำให้คนที่ไม่เข้าใจความหมายในส่วนนี้เข้าใจตามการพาดหัวข่าวของสื่อ ว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง ทั้งๆ ที่หากได้อ่านเนื้อความของข่าวจะเข้าใจว่า ฟิลเลอร์ที่ข่าวสื่อถึงนั้น คือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้รับมาตรฐาน กลุ่มซิลิโคนเหลว หรือฟิลเลอร์ปลอมนั่นเองครับ หากจะพาดหัวข่าวให้คนไทยเข้าใจอย่างถูกต้องควรจะเขียนว่า ฉีดฟิลเลอร์ปลอมแล้วหน้าพัง แทนครับถึงจะถูกต้อง
แต่กระนั้น การฉีดฟิลเลอร์แท้ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย 100 % สามารถมีโอกาสเกิดอันตรายได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความชำนาญ และเทคนิคการฉีดของแพทย์ด้วย แต่ข้อได้เปรียบคือฟิลเลอร์แท้จะสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าครับ
อันตรายจากฉีดฟิลเลอร์ (Filler) มีอะไรบ้าง
หลายคนกังวลใจ และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับ Filler ว่าอันตรายอย่างไรบ้าง มาดูกันครับ
- เนื้อตาย เกิดจากการมีบางสิ่งไปอุดตันในเส้นเลือด (Necrosis) ส่งผลให้เส้นเลือดไม่สามารถไปหล่อ เลี้ยงเซลล์ได้หมอจะสามารถตรวจพบการอุดตันในเส้นเลือด จากการเปลี่ยนแปลงของสีผิวบริเวณที่ฉีดระหว่างที่ฉีดและหลังฉีด แต่หากเป็นฟิลเลอร์ HA ที่เป็นของแท้ ผ่านมาตรฐาน จะสามารถแก้ไขได้ทัน ด้วยการฉีดตัวยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL) เพื่อสลายฟิลเลอร์ ทำให้รักษาเนื้อกลับคืนมาได้ 100 % เพราะฟิลเลอร์แท้สามารถสลายได้หมด ไม่มีตกค้างครับ
- ตาบอด (Blindness) เกิดจากการฉีดเข้าไป ในเส้นเลือดของใบหน้า ทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน มักจะเกิดจากการใช้เข็มปลายแหลมฉีด การฉีดด้วยเข็มปลายทู่จะมีโอกาสน้อยมาก และถ้าโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ และใช้ Technic drow back ตลอดทุกจุด จะมีโอกาสเกิด 0 %
- การแพ้บวมแดง (Reaction,Granuloma) เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแข็ง เมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี จึงจะมีอาการแพ้ บวมเกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ในฟิลเลอร์ปลอมมากที่สุด
- อักเสบติดเชื้อ (Infection) เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าผิวหนัง หรืออยู่กับเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละคลินิก จะพบได้บ่อยสุดในเคสที่ฉีดโดยหมอกระเป๋า หรือคลินิกเถื่อน
- เป็นก้อนแข็งบวม (Migration) เกิดเมื่อฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณมาก 7-15 CC ซึ่งร่างกายไม่สามารถที่จะอุ้มไว้ได้หมด จึงไหลย้อย เป็นก้อนบวม แข็ง และย่อยสลายไม่หมด เพราะไม่สามารถย่อยสลายได้
- ห้อยย้อย (sagging) เกิดเมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอม เนื่องจากไม่สามารถสลายได้ อยู่ในร่างกายไปนานๆ จะดึง Smas ให้ตกลงมาได้
การฉีดฟิลเลอร์ที่ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
การเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ปลอดภัย และได้มาตรฐาน นั่นคือ การเลือกใช้ Hyaluronic Acid (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1) เพราะสามารถย่อยสลายได้ในระยะ 12-18 เดือน อย. รับรองเรื่องความปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย และที่สำคัญ คนไข้ควรศึกษาวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์ HA (Hyaluronic Acid) แท้ที่ปลอดภัยก่อน
เพราะในปัจจุบันนี้ มีคลินิกจำนวนมากถูกตรวจสอบ และพบการใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน ราคาถูก นำเข้าแบบผิดกฎหมาย จึงควรตรวจสอบให้ดีก่อน เพื่อป้องกันอันตรายที่ตามมาครับ
ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) HA เทคนิคไหนให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย
การเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ว่าสำคัญมากแล้ว เทคนิคที่แพทย์ใช้ในการฉีดฟิลเลอร์ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลยครับ จึงขออธิบายรายละเอียดเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์เพื่อลดความกังวลใจของคนไข้ มาดูกันเลยครับ!!
- สิ่งแรกต้องเลือกฟิลเลอร์แท้ คือ สาร Hyaluronic Acid (HA) เพราะสามารถย่อยสลายออกได้ทันที หากเกิดปัญหา ก็สามารถใช้ยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL) ฉีดเพื่อสลายฟิลเลอร์ได้ทันที (แต่สำหรับประเภทที่ 2,3,4 นั้นยังไม่มียาตัวไหนที่ฉีดสลายออกได้)
- การเลือกใช้เข็มในการฉีดฟิลเลอร์ คือ เข็มทู่ แพทย์จะใช้ฉีดฟิลเลอร์ในชั้นเนื้อที่ตื้นขึ้นมา ไม่สามารถฉีดบริเวณผิดที่ติดกระดูก หรือผิวในชั้นไขมัน ส่วนเข็มแหลม แพทย์จะใช้ฉีดฟิลเลอร์ผิวบริเวณชิดกระดูก หรือผิวในชั้นลึกเท่านั้น แต่อย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงการเข้าเส้นเลือด ก่อนจะมีการเรียนรู้เทคนิคการฉีดอย่างปลอดภัยแบบนี้นั้น หมอในยุคแรกๆ ประมาทเกินไปใช้เข็มทู่ในการฉีด เพราะคิดว่าจะไม่มีทางเข้าเส้นเลือดได้ จึงทำให้หลายเคสเกิดเนื้อตาย
- การใช้เข็มทู่ แม้จะเป็นเข็มทู่ก็ไม่สามารถหลบหลีกเส้นเลือดได้ 100% ต้องอาศัยเทคนิคการฉีดในข้อต่อๆ ไปช่วยเสริมด้วย ควรใช้ยาชาฉีดนำเข้าไปในบริเวณนั้นๆ ก่อน เพราะยาชาเป็นน้ำจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัวเล็กมากทำให้โอกาสที่เข็มจะแทงโดยเส้นเลือดลดลง
- การดันยาเข้าสู่ผิว ทุกครั้งก่อนที่หมอจะดันยา หมอจะต้องทำการ drow back technic ทุกครั้งที่ขยับเข็ม แล้วค่อยเริ่มเดินยา
- การเลือกขนาดของเล็ก ขนาดของเข็มทู่และเข็มแหลมจะต้องไม่เล็กจนเกินไป ซึ่งขนาดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 22G-25G เพราะหากเลือกเข็มเล็กไปจะมีข้อเสียตามมา เช่น เสี่ยงในการแทงเข้าหลอดเลือด ในขณะที่ดูดเข็มเพื่อทดสอบ หากเข้าเส้นเลือดก็อาจจะไม่เจอเลือดออกมาผสมในเข็ม ขณะเดินยาจะต้องเพิ่มแรงดัน ซึ่งก็เพิ่มโอกาสเข้าเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น
- ข้อสังเกตขณะเดินยา ในขณะที่เดินยาหมอจะดูปลายเข็มดูทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่ามีฟิลเลอร์ออกจากปลายเข็มแล้วทำให้เนื้อยกขึ้น เต็มขึ้น หรือฟูขึ้น แสดงว่าฟิลเลอร์ไม่ได้เข้าเส้นเลือด นอกจากนี้จะคอยสังเกตุว่าสีผิวของคนไข้เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะถ้าฟิลเลอร์เข้าสู่เส้นเลือดสีผิวจะซีดหรือแดงภายในบริเวณนั้น จะสามารถแก้ไขได้ทันเวลา
- ปริมาณยาในแต่ละจุด การเดินยาในแต่ละจุด หมอจะค่อยๆ ฉีด เพื่อจะไม่ให้เกิดแรงดันที่มากเกินไป และฉีดแต่ละจุดในปริมาณที่น้อยๆ ด้วย Technic Microdrop เพื่อให้ฟิลเลอร์เรียงอยู่บนผิวหน้าของเราได้อย่างละเอียด เรียบเนียน กลมกลืนไปกับผิวหน้าดูเป็นธรรมชาติ และหากมีสิ่งผิดปกติ แทบจะยังไม่กระจายไปไหน ก็สามารถแก้ไขได้ก่อน
- ความใส่ใจของคุณหมอ การฉีดทุกครั้ง จะต้องคอยถามคนไข้เสมอว่า มีอาการเจ็บไหม เพื่อป้องกันการเข้าเส้นเลือดอีกวิธีหนึ่ง และการฉีดมือเบาๆ ครับ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นเทคนิคที่ผมใช้มาตลอดระยะเวลา 15 ปี ในด้านหัตถการการฉีดฟิลเลอร์ ฉีดมาประมาณ 10,000 เคส ซึ่งผมอยากให้คนไข้ได้รับผลลัพธ์ที่ดี และปลอดภัย 100% ครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความ : คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ “ฟิลเลอร์” เติมเต็มให้ใบหน้าให้ดูอ่อนวัย
บทความ : เจาะลึกข้อดี-ข้อเสีย ฟิลเลอร์ กับหมอกัน ธีระธรฌ์คลินิก
บทความ : ก่อนฉีดฟิลเลอร์ (HA) จำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง??
นัดจองคิวล่วงหน้า หรือ ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่


นพ.รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (หมอกันต์) แพทย์ศัลยกรรมมือหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมความงาม การแก้ไขจมูกเทคนิค Open Reconstruction ออกแบบรูปหน้าและทรงจมูกตามหลัก Anatomy รวมถึงบริการทางด้านการดูแลผิวพรรณ เลเซอร์ โบท็อกซ์ (Botox) ฟิลเลอร์ (Filler) ร้อยไหม เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานผ่าน อย. และการผ่าตัดเสริมความงามทั่วเรือนร่าง เสริมจมูก เสริมหน้าอก ดูดไขมัน ตาสองชั้น ยกกระชับผิว เก็บกรอบหน้า ปั้นหน้าเด็ก และรักษาไฝ ฝ้า กระ จุดด่างดำ แบบครบวงจร การันตีฝีมือและผลงานด้วยรีวิวเยอะที่สุด มีมากกว่า 10,000 เคส