เสริมคางแผลใน ติดเชื้อ ทำยังไงดี? เป็นที่ทราบกันดีในคนไข้ศัลยกรรมคางว่า ในการผ่าตัดปรับทรงคางนั้นจะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ การผ่าตัดแผลใน และ แผลนอก ซึ่งแผลทั้ง 2 แบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ไม่ว่าคนไข้จะเลือกการผ่าตัดแผลใดก็ตาม จะย่อมมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนตามมาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น อาการบวม ปวดตึง และติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งภาวะที่คนไข้ต้องระวังเป็นอย่างมากคือภาวะ แผลติดเชื้อ นั่นเอง โดยหากคนไข้ดูแลตนเองไม่ดีพอก็จะทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องสงสัย ซึ่งอาการอักเสบเช่นนี้ มักเกิดกับ แผลในหรือนอก มากกว่ากัน และหากอักเสบขึ้นมาจริงๆ จะทำอย่างไรดี บทความนี้เรามีคำตอบครับ
เสริมคางแผลใน ติดเชื้อ ทำยังไงดี อันตรายมากไหม ต้องทำอย่างไรจึงจะหาย?
การผ่าตัดเสริมคาง ไม่ว่าจะเป็นแผลแบบใด ก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมคางทั้งสิ้น เนื่องจากการศัลยกรรมในทุกๆ จุดไม่ว่าจะเป็นบริเวณใดก็ตามนั้น ไม่ใช่เพียงผ่าตัดครั้งเดียวแล้วจบกันไป หากแต่ยังมีช่วงเวลาที่คนไข้ต้องดูแลตนเองในช่วงพักฟื้นอีกด้วย แม้การเข้ารับการผ่าตัดจากแพทย์ฝีมือดีและมีความเชี่ยวชาญจะเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเราวางใจได้ว่าเราจะปลอดภัยก็จริง แต่การมีวินัยของคนไข้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าเพราะอาการแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหากดูแลไม่ดีพอ และไม่เข้าพบหมอเพื่อเช็กอาการตามกำหนด ดังนั้น คนไข้หรือผู้อ่านจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับภาวะแผลใน ในการเสริมคางติดเชื้อเอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในการดูแลตนเองให้ดีอยู่เสมอ
เสริมคาง แผลใน – แผลนอก ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี?
การเสริมคางเป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ที่สาว ๆ สนใจอยากทำ เป็นการปรับรูปหน้าให้ได้สัดส่วนอย่างถาวร ได้รูปทรงสวยงาม ไม่ว่าจะคางตัด คางสั้น คางถอย รวมไปถึงคางบุ๋ม สามารถเสริมคางให้สวยงามได้ เสริมคางมีทั้งแผลนอก และแผลในให้เลือกทำ เรามาดูกันครับว่า เสริมคางแผลนอก และ เสริมคางแผลใน แตกต่างกันยังไง?
เสริมคางแผลนอก
วิธีนี้แพทย์จะทำการเปิดแผลด้านนอก ตรงบริเวณใต้คาง ความยาวของแผลจะมีขนาด เล็กนิดเดียว ประมาณ 1 – 1.5 ซม. แล้วใส่ซิลิโคน ไปตามตำแหน่งที่ต้องการ แล้วทำการเย็บปิดแผล ใช้เวลาในการผ่าตัด ประมาณ 30-45 นาที ซึ่งความยากหรือง่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละเคสครับ
ข้อดีของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านนอก
ดูแลง่าย แผลหายเร็ว
วางตำแหน่งซิลิโคนได้อย่างแม่นยำ
ไม่เป็นก้อน ไม่ห้อยย้อย
ไม่เสี่ยงการติดเชื้อ
ไม่เกิดการอักเสบภายในช่องปาก
ข้อเสียของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านนอก
- รอยแผลเป็นจาง ๆ บริเวณที่ผ่าตัด
- ไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโอกาสเป็นแผลเป็นชนิดคีลอยด์
- ห้ามโดนน้ำในช่วงแรก เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
เสริมคางแผลใน
วิธีนี้แพทย์จะทำการเปิดแผลข้างในปาก ตรงบริเวณซอกเหงือกตรงริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลจะมีขนาดประมาณ 1.5 – 2 ซม. หลังจากนั้นจะแยกเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกตรงบริเวณขอบล่างขึ้นมา แล้วทำการใส่ซิลิโคนเข้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วทำการเย็บปิดแผล โดยจะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชม. ครับ
ข้อดีของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านใน
ผ่าตัดในช่องปาก ไม่เห็นรอยแผลเป็นด้านนอก
ไม่ต้องตัดไหม แผลหายไว
ดูแลรักษาง่าย
แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญสูง
ข้อเสียของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านใน
- มีแผลในปากจะเป็นแผลติดกับร่องเหงือก
- มีโอกาสติดเชื้อสูง หากดูแลไม่ดี
- เนื้อที่ในการทำผ่าตัดค่อนข้างจำกัด ทำให้เนื้อเยื่อค่อนข้างช้ำและมีเลือดออกมาก
เมื่อศัลยกรรมคางแผลใน แล้วติดเชื้อ อันตรายอย่างไร?
คือ แผลแตกที่มีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังทำให้มีอาการต่างๆ บริเวณบาดแผล และอาจมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย โดยการติดเชื้ออาจเกิดบริเวณชั้นผิวหนัง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่ลึกลงไป หรืออาจลามไปยังอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับแผล
สาเหตุของแผลติดเชื้อ
การติดเชื้อ-อักเสบของคาง (Inflammation) เกิดจาก ก่อนทำการเสริมคาง หลายคนอาจจะกังวลเรื่องอาการบวม ช้ำ หรือเข้าที่ช้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะอาจทำให้คุณต้องหยุดงานเพื่อพักฟื้นเพิ่มขึ้น แต่โดยปกติแล้วหลังจากเสริมคางจะมีอาการบวมอยู่เพียง 3-7 วัน และหลังจากนั้นอาการบวมก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง และเริ่มเห็นรูปของคางใหม่ภายใน 1-3 เดือนหลังการทำ
อย่างไรก็ดีครับ แผลติดเชื้อเกิดจากการสะสม และการเพิ่มจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าสู่บาดแผลนั้น สามารถเกิดได้จากกรณีอื่นๆ ได้อีกหลายกรณี เช่น
- การปนเปื้อนเชื้อด้วยตัวผู้ป่วยเอง อาจมีเชื้ออยู่บนผิวหนัง มือ เยื่อเมือก แล้วเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลที่เกิดขึ้น หรือเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารที่เข้าสู่แผลผ่าตัดจนเกิดการติดเชื้อ
- เชื้อแพร่กระจายอยู่ในอากาศหรือในสิ่งแวดล้อม แล้วสะสมที่บาดแผลจนเกิดการติดเชื้อ
- มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้กับแผล เช่น ผ้าพันแผล ผ้าก๊อซ
- การสัมผัสโดยตรง เช่น ได้รับเชื้อจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ มือของศัลยแพทย์ หรือพยาบาลที่มีเชื้อโรคติดอยู่ เชื้อจุลินทรีย์ที่มักทำให้เกิดแผลติดเชื้อ
ลักษณะอาการแผลติดเชื้อ
อาการของแผลติดเชื้ออาจปรากฏ 2-3 วันหลังจากเกิดแผล หรืออาจไม่พบอาการใด ๆ เป็นเวลา 1 หรือ 2 เดือนหลังเกิดบาดแผล โดยอาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังแผลติดเชื้อ ได้แก่
- รู้สึกอุ่น ผิวหนังใกล้ ๆ บาดแผลมีรอยแดง เจ็บ หรือบวม
- รู้สึกเจ็บบริเวณบาดแผลมากขึ้น
- บาดแผลมีกลิ่นเหม็น
- บาดแผล มีเลือดหรือหนอง
ทำคาง แผลในติดเชื้อ แก้ไขอย่างไรดี?
ศัลยแพทย์จะพันผ้าพันแผลไว้ให้โดยประมาณ 2 ถึง 3 วัน ระหว่างนี้คนไข้จะต้องรับประทานอาหารที่อ่อนหรือเป็นน้ำเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของบาดแผล คนไข้อาจจะประสบปัญหาบาดแผลบวมหรือปวด อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาลงได้โดยการสั่งยาของศัลยแพทย์
ท้ายที่สุด ถ้าหากคนไข้เลือกเสริมคางกับคลินิกและแพทย์ที่น่าเชื่อถือก็จะได้ผ่าตัดด้วยเทคนิคที่ช่วยทำให้คางเข้ารูปสวยได้อย่างรวดเร็วและไร้ปัญหา เสริมคางแผลใน ติดเชื้อ ด้วยนั่นเอง แต่สำหรับบางคนอาจเกิดปัญหาเสริมคางแล้วเป็นก้อน เสริมคางแล้วไม่เข้าที่ได้ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัด การดูแลตนเอง ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่คุณสามารถขอรับปรึกษาแพทย์ที่ดูแล เพื่อหาทางแก้ไขเพื่อให้คางเข้าที่และได้รูปตามอุดมคติมากที่สุดครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Q&A – 7 คำถามยอดฮิตที่คนอยาก”ทำคาง”ต้องรู้
คางสั้น คางไม่มี ? เสริมคางอย่างไรให้เข้ากับใบหน้า
ฉีดฟิลเลอร์-ไขมัน แล้วคางเป็นก้อน แก้ยังไงดี?