หนึ่งในอันตรายจากการเสริมจมูกโดยคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐานที่อาจส่งผลต่อคนไข้ในระยะยาวได้ก็คือสารเหลวนั่นเอง วันนี้ผมจะพามาทำความรู้จักกันว่าสารเหลวคืออะไร ทำไมถึงเป็นอันตรายต่อคนไข้ พร้อมแนะนำวิธีรักษาแก่ผู้ที่ถูกหลอกให้ฉีดสารเหลวที่จมูกจนเป็นอันตรายและเกิดปัญหาบนใบหน้าตามมา
สารเหลวคืออะไร อันตรายต่อคนไข้เสริมจมูกหรือไม่
สารเหลว หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อ ฟิลเลอร์ปลอม เป็นสารเติมเต็มที่ไม่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยซิลิโคนเหลว, ฟิลเลอร์หมดอายุ, พาราฟิน, สารสังเคราะห์ (สารไบโอ), น้ำมันมะกอก หรือแม้แต่น้ำมันพืชบางชนิด โดยสารชนิดนี้นิยมกันในหมู่หมอกระเป๋าเนื่องจากมีราคาถูก เมื่อฉีดสารนี้เข้าสู่ร่างกายคนไข้ในระยะแรกจะเห็นได้ว่าผิวหนังบริเวณที่ฉีดเข้าไปจะเต่งตึง นูนออกมา หากฉีดที่จมูกก็ทำให้ดั้งโด่ง ดูโดดเด่น หรือหากฉีกบริเวณใบหน้า ก็ทำให้ใบหน้าดูเต่งตึง ดูอ่อนกว่าวัย แต่เนื่องจากซิลิโคนเหลวสลายเองไม่ได้เหมือนสารเติมเต็มชนิดอื่น แถมยังซึมตามเนื้อเยื่อของร่างกาย เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานจะไม่สามารถผ่าตัดเอาออกจากร่างกายได้ทั้งหมด ทำได้เพียงบางส่วนที่ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อเท่านั้น ได้แก่ หน้าผาก, ใต้ตา, จมูก, แก้มและคาง
อันตรายจากสารเหลว
- ซิลิโคนเหลวจะทำปฏิกิริยากับเซลล์ผิวในร่างกาย ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแข็งเป็นก้อน ดูผิดรูป ไม่เรียบเนียน
- จมูกผิดรูปจากการติดเชื้อ หากไม่รีบแก้ไข อาจทำให้ผิวหนังจมูกถูกกัดเซาะจนเกิดเนื้อตาย
- หากสารเหลวเข้าสู่เส้นเลือดแดง อาจเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน
- เสี่ยงต่อการอักเสบ สังเกตได้จากการบวมแดงและติดเชื้อ
- หากร้ายแรง อาจเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันบริเวณลูกตา อาจทำให้ตาบอดได้
วิธีการรักษา
1. บีบหรือดูดออก
ศัลยแพทย์จะใช้วิธีบีบหรือดูดเอาสารเหลวออก ซึ่งมีราคาไม่แพงหากเทียบกับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด แต่การรักษาประเภทนี้ไม่อาจนำซิลิโคนเหลวออกได้ทั้งหมด
2. ผ่าตัด
เนื่องจากซิลิโคนเหลวฝังตัวแน่น จึงไม่สามารถเอาออกให้หมด หากขูดเลาะออก อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีเนื้อบางลง อาจทำให้ใบหน้าผิดรูปตามมา ดังนั้นการผ่าตัดจึงเหมาะต่อการเอาสารเหลวออกมาที่สุด โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเพื่อเลาะสารเหลวในส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้ศัลยแพทย์จะระมัดระวังไม่ให้ทำลายเส้นเลือด, เนื้อเยื่อ และเส้นประสาทโดยรอบ ส่วนใหญ่จะใช้เวลารักษาประมาณ 1-2 ชม. (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)
- หากเลาะออกมาแล้วผิวหนังบริเวณนั้นหย่อนคล้อยลง จะต้องแก้ไขในภายหลังตามคำแนะนำของศัลยแพทย์
- หากคนไข้ต้องการศัลยกรรมเสริมจมูกอีกครั้ง ศัลยแพทย์จะแนะนำให้เสริมซิลิโคนแบบแท่ง
แนะนำวิธีดูแลตัวเองหลังจากการรักษา
- พยายามไม่สัมผัสแผลหรือไม่ให้แผลถูกกระทบกระเทือน
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำหลังผ่าตัดเป็นเวลา 3 วัน
- หลังจากผ่าตัดแก้ไข คนไข้อาจมีอาการบวมนานประมาณ 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ควรประคบอุ่นเพื่อบรรเทาอาการบวม
- ทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์
- หากเกิดอาการผิดปกติ ให้รีบพบศัลยแพทย์ทันที
ทำไมต้องแก้จมูกที่ YKJ Medical Center?
หมอกัน หรือ นพ.รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (อาจารย์แพทย์ผู้สอนเทคนิคการผ่าตัดปรับโครงสร้างจมูกแบบ Open Reconstruction ให้แก่แพทย์ด้านความงามทั่วประเทศไทย) ผู้มีประสบการณ์ด้านความงามมามากกว่า 20 ปี คุณหมอได้ทำการศึกษาและผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบรูปหน้า รูปทรงจมูก ให้ถูกใจคนไข้มากที่สุด ตามหลัก Fibonacci ratio และปรับโหงวเฮ้งตามความต้องการของคนไข้ โดยยึดหลักการออกแบบให้ดูสวยขึ้น แต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองอยู่ ปรับเปลี่ยนโดยไม่เสียความเป็นตัวเองไป เพราะหมอกันเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนมีความสวยของตนเอง
บทความที่น่าสนใจ
- จมูกสั้นรักษาดีมั้ย แก้เป็นทรงจมูกแบบไหนดี
- เสริมจมูกชมพู่อย่างไร ให้เสริมออร่ายิ่งกว่าเดิม
- อย่าปล่อยให้จมูกพังจากการแก้จมูกโดยหมอที่ไม่ได้มาตรฐาน