สิ่งที่คนคิดจะฉีดฟิลเลอน์ต้องระวัง!! เพราะหากเลลือกที่ฉีดไม่มีหากเจอฟิลเลอร์ปลอมก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรจะระวัง เพราะเสี่ยงทำหน้าพัง แพ้อักเสบไปจนถึงเสียโฉมได้ วันนี้หมอกันจะมาบอกวิธีสังเกตจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อกันครับ
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร?
ฟิลเลอร์คือสารเติมเต็มที่มีส่วนประกอบของสาร Hyaluronic Acid หรือ สาร HA ซึ่งเป็นสารที่มีความยืดหยุ่นตัวสูงคล้ายกับคอลลาเจนที่ผลิตใต้ชั้นผิวของเรา ทำให้มีความปลอดภัยสูง สามารถสลายออกไปได้เองโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีสารเคมีตกค้าง ทำให้ปัจจุบันคนนิยมเข้ามาฉีดเพื่อเติมเต็มร่องรอยลึก-ตื้นบริเวณ ช่วยให้ใบหน้าที่เหี่ยวย่นกลับมาเต่งตึงอีกครั้งและยังช่วยให้ผิวที่มีความหมองคล้ำกลับมากระจ่างใสอีกด้วย
และด้วยประโยชน์ของฟิลเอร์นี่เองที่ทำให้คนนิยมฉีดฟิลเลอร์กันอย่างมาก และมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่โดนหลอกให้ไปฉีดฟิลเลอร์ปลอมแทน ซึ่งฟิลเลอร์ปลอมนั่นก็คือ “ซิลิโคนเหลว” เป็นฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากฉีดเข้าไปแล้วไม่สามารถสลายออกได้ตามธรรมชาติ แถมยังสามารถไหลไปตามส่วนต่างๆ ทำให้อักเสบบวมแดง ใบหน้าผิดรูปเสียโฉมซึ่งวิธีแก้นั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดขูดออกเท่านั้น
วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม
ฟิลเลอร์ปลอมสมัยนี้มีการเลียนแบบทั้งแพคเกจจิ้งและเนื้อสัมผัสที่หากหมอไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจจะไม่สามารถแยกออกได้ คนไข้เองก็ยิ่งไม่มีทางทราบได้เลยว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปนั้นเป็นของแท้หรือของปลอม ถึงแม้ว่าจะแยกแยะยากแต่ก็ไม่ได้ถึงกับแยกไม่ได้ครับ หมอจะมาบอกวิธีสังเกตดังนี้
- สังเกตราคา : จุดที่สำคัญที่จะดูได้ว่าฟิลเลอร์นั้นเป็นของแท้หรือของปลอมก็คือ “ราคา” เพราะฟิลเลอร์แท้นั้นจะมีราคาสูงซึ่งจะแบ่งความเกรดตามยี่ห้อ แต่ฟิลเลอร์ปลอมมักจะมีราคาที่ถูกกว่าทำให้คนไข้หลายๆ คนหลวมตัวไปฉีดและแน่นอนว่าคนที่ฉีดก็มักจะเป็นหมอปลอมด้วยครับ ข้อเสียก็คือเสี่ยงต่อการอักเสบและเสียโฉมสูงเพราะการฉีดฟิลเลอร์จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงและต้องฉีดให้ถูกตำแหน่งชั้นผิวเท่านั้ หากฉีดผิดตำแหน่งก็จะทำให้ผิวหนังนูนบวมอักเสบอย่างร้ายแรงที่สุดก็อาจจะทำให้เสียโฉม ตาบอดได้เลยครับ
- บนฉลากฟิลเลอร์ควรจะเป็นภาษาไทย เพราะว่าฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจาก อย.ไทย จึงต้องมีจะมีฉลากภาษาไทยระบุรายละเอียดของสินค้า ซึ่งจะระบุทั้งวันผลิตและวันหมดอายุ ในกรณีที่ฟิลเลอร์นำมาฉีดให้นั้นไม่มีฉลากภาษาไทยอาจจะเสี่ยงเป็นของปลอมได้
- ไม่ควรเชื่อฟิลเลอร์ที่ขายตามอินเทอร์เน็ตเด็ดขาด เนื่องจากฟิลเลอร์เป็นยาชนิดควบคุมพิเศษที่ผู้สั่งได้ต้องประกอบอาชีพแพทย์เท่านั้น ก่อนซื้อก็ต้องส่งหลักฐานเช่น ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาลถึงจะสามารถนำเข้ามาได้ ดังนั้นฟิลเลอร์ชนิดไหนที่ขายตามอินเทอร์เน็ตและคนไข้สามารถสั่งซื้อเอาได้โดยง่าย ให้ระบุไปเลยครับว่าเป็นของปลอมอย่างแน่นอน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความ : ก่อน-หลังฉีดฟิลเลอร์ควรงดอาหารอะไรบ้าง
บทความ : ฟิลเลอร์สลายได้จริงเหรอ!! ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสลายตัวของฟิลเลอร์
บทความ : เคล็ดลับ ยืดอายุฟิลเลอร์ วิธีดูแลฟิลเลอร์ให้อยู่ได้นาน
นัดจองคิวล่วงหน้า หรือ ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่


นพ.รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (หมอกันต์) แพทย์ศัลยกรรมมือหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมความงาม การแก้ไขจมูกเทคนิค Open Reconstruction ออกแบบรูปหน้าและทรงจมูกตามหลัก Anatomy รวมถึงบริการทางด้านการดูแลผิวพรรณ เลเซอร์ โบท็อกซ์ (Botox) ฟิลเลอร์ (Filler) ร้อยไหม เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานผ่าน อย. และการผ่าตัดเสริมความงามทั่วเรือนร่าง เสริมจมูก เสริมหน้าอก ดูดไขมัน ตาสองชั้น ยกกระชับผิว เก็บกรอบหน้า ปั้นหน้าเด็ก และรักษาไฝ ฝ้า กระ จุดด่างดำ แบบครบวงจร การันตีฝีมือและผลงานด้วยรีวิวเยอะที่สุด มีมากกว่า 10,000 เคส