อาการพังผืดเกาะ ซิลิโคน เป็นภาวะที่รู้จักกันดีในบรรดาคนไข้ในการศัลยกรรมผ่าตัดเสริมหน้าอก เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน การเกิดอาการพังผืดเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งที่คนไข้ในการศัลยกรรมเสริมซิลิโคนในหน้าอกจะพบเจอได้บ่อยครั้ง เนื่องจากพังผืดถือเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาอัตโนมัติเพื่อห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมนั่นเอง อย่างไรก็ดี พังผืดเกาะซิลิโคน สามารถก่อตัวได้เรื่อยๆ จนในคนไข้บางท่านพังผืดที่จับตัวกันนั้นมีขนาดที่ใหญ่จนทำให้หน้าอกผิดรูปไปเลยก็ได้เช่นกัน
อาการพังผืดเกาะ ซิลิโคน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ต้องนำซิลิโคนออกหรือไม่?
จากที่ได้แจ้งไว้ในช่วงต้นครับว่า ปัญหาพังผืดเกาะซิลิโคนนั้น เป็นปัญหาสามัญที่มักพบได้ในคนไข้ศัลยกรรมผ่าตัดที่ใช้วัสดุเทียมในการเสริมอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จมูก หรือ หน้าอก ก็สามารถพบพังผืดเกาะซิลิโคนได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี พังผืด เช่นนี้สามารถแบ่งออกได้หลายระดับ เนื่องจากมีทั้งพังผืดที่เกิดขึ้นในระดับปกติ ไม่ส่งผลเสียต่อรูปทรงของหน้าอกคนไข้ ไปจนถึงพังผืดที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็งทำให้หน้าอกเสียรูปทรงเลยทีเดียว นั่นจึงทำให้วิธีรักษาก็มีแนวทางที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน
“พังผืด” คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?
พังผืดคือเนื้อเยื่อที่ร่างกายของคนเรานั้นสร้างขึ้นมา เพื่อห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาอยู่ในร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้ว พังผืด คือเนื้อเยื่อ คลอลาเจน tpe III (สามารถพบในผิว กล้ามเนื้อ และผนังหลอดเลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกาย) ซึ่งเป็น เนื้อเยื่อปกติ ของเราเอง แต่เป็นกระบวนการของร่างกาย ที่หากเวลามีสิ่งแปลกปลอม เข้าไปในร่างกายจะมีการสร้างเนื้อเยอะมาห่อหุ้ม ซึ่งศัพท์ที่เราเข้าใจคือ พังผืด นั่นเอง
สาเหตุของการเกิด “พังผืดเกาะซิลิโคน”
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดพังผืดขึ้นที่ซิลิโคนหน้าอกนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ประกอบด้วย
1.ขนาดของซิลิโคนไม่เหมาะกับหน้าอก
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเลือกซิลิโคนที่ใหญ่เกินไป จึงทำให้ซิลิโคนเกิดการเกาะตัวของพังผืดในหน้าอกขึ้น
2.มาตรฐานของซิลิโคน
ในปัจจัยข้อนี้ อาจจะต้องพึ่งการศึกษาข้อมูลและตรวจสอบจากคนไข้เอง ว่าคลินิก นำซิลิโคนที่ได้มาตรฐานมาทำการผ่าตัดให้จริงๆ เนื่องจากมีในบางคลินิกที่หลอกลวงคนไข้ว่าซิลิโคนที่นำมาผ่าตัดนั้น มีมาตรฐาน แต่แท้จริงแล้วนำของเก่ามาผ่าตัดให้คนไข้ก็มี ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจ คนไข้ควรตรวจสอบประวัติของคลินิกนั้นๆ เพื่อดูความน่าเชื่อถือก่อน
3. ดูแลตนเองไม่ดีพอ
เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ทำตามคำแนะนำแพทย์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งหากคนไข้ไม่อยากมีอาการพังผืดติดอยู่ที่ซิลิโคน ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงนะครับ
4.เสริมหน้าอกแบบวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ
เป็นวิธีการวางตำแหน่งซิลิโคนที่ส่งผลให้เกิดพังผืดได้ง่ายที่สุด แต่การวางใต้ชั้นกล้ามเนื้อ แม้จะทำให้หน้าอกดูสวย แต่ก็เกิดพังผืดได้เช่นกัน
5. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาสลายพังผืด
ต้องแจ้งคนไข้ก่อนครับว่า ในปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดทางการแพทย์ที่สามารถทานแล้วสลายพังผืดได้นะครับ มีคนไข้ในหลายๆ เคส นำยาแก้หอบหืดมารับประทานเพราะเข้าใจผิดว่าสามารถนำมารักษาพังผืดหลังการเสริมหน้าอกได้ แต่แท้จริงแล้ว นอกจากจะรักษาไม่ได้แล้ว ยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพังผืดมากกว่าเดิมอีกด้วย
ทั้งนี้ แม้ซิลิโคนจะถือเป็นวัสดุเทียมที่นิยมนำมาใช้ในการศัลยกรรมในจุดต่างๆ ตามร่างกาย แต่การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน ถือเป็นการศัยกรรมที่ทำให้เกิดพังผืดได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่าจุดอื่นๆ ดังนั้น คนไข้จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันในทุกๆ ขั้นตอนตั้งแต่เลือกคลินิกจนถึงขั้นตอนการพักฟื้นดูแลตัวเองด้วยครับ

ระดับความอันตรายของ “พังผืดหน้าอก”
ความอันตรายของพังผืดที่เกาะซิลิโคนหน้าอกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
ระดับที่ 1: เป็นระดับที่มีปัญหาน้อยที่สุด หรือแทบจะเรียกว่าปกติได้เลยทีเดียว เนื่องจากพังผืดระดับนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อหน้าอกหรือรูปร่างของหน้าอกมากมายนัก
ระดับที่ 2: เมื่อสัมผัสดูแล้ว อาจรู้สึกถึงความแข็งได้บ้างเล็กน้อย แต่เต้านมและรูปร่างของอก ยังดูสวย ปกติดี
ระดับที่ 3: รูปร่างของหน้าอกเริ่มเปลี่ยน พังผืดที่หน้าอกเริ่มแข็งมากขึ้น แต่คนไข้จะยังไม่มีอาการเจ็บแต่อย่างใด
ระดับที่ 4: หน้าอกมีความแข็งเหมือนก้อนหิน ผิดรูป และคนไข้จะมีอาการเจ็บที่เต้านม
ซึ่งความอันตรายของพังผืด ทั้ง 4 ระดับนี้ ก็มีการรักษาที่แตกต่างกันออกไปซึ่งจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เพื่อแก้ไข
แนวทางการรักษา “อาการพังผืดเกาะซิลิโคน”
สำหรับแนวทางการป้องกันและรักษาอาการพังผืดเกาะซิลิโคนหน้าอกนั้น สามารถแบ่งออกได้ 2 แนวทางใหญ่ๆ ประกอบด้วย
แนวทางการป้องกันจากทางคนไข้เอง
คนไข้สามารถทำตามแนวทางป้องกันต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ เช่น
ดูแลตนเองให้ดี
เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ทำตามคำแนะนำแพทย์ งดดื่มสุราและสูบบุหรี่ เพื่อความแข็งแรงและฟื้นตัวเร็วของแผลด้วย
งดพฤติกรรมเสี่ยง
นอกจากงดการดื่มสุราและสูบบุหรี่แล้ว ต้องไม่ลืมเรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดพังผืดได้
นวดหน้าอก
สามารถทำได้ครับ โดยเหมาะแนะนำให้คนไข้นวดเองง่ายๆ ที่บ้าน ไม่ควรเข้าร้านนวดหน้าอก เนื่องจากในบางครั้งอาจเกิดการกระทบกระเทือน ดังนั้น แนะนำให้คนไข้ค่อยๆ นวดเบาๆให้กับตนเองที่บ้านจะดีกว่าครับ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาซิลิโคนแตกด้วย
แนวทางการรักษาจากทางคนไข้เอง
นอกจากการดูแลตนเองของคนไข้แล้ว แนวทางการรักษาจากทางแพทย์ก็สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น
เทคนิคการผ่าตัดของแพทย์
แพทย์นั้นต้องมีความชำนาญเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะให้ผลข้างเคียงต่อคนไข้น้อยที่สุด รวมถึงต้อทำการผ่าตัดไม่ให้แผลของคนไข้ ช้ำ บวม หรืออักเสบและติดเชื้อ ควรทำออกมาสวย เลือกไซส์ได้ถูก ไม่มีปัญหา พังผืดก็ย่อมเกิดน้อยกว่า
ลดเลือดคลั่ง
เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ครับกับอาการเลือดคลั่ง ซึ่งแพทย์จะไม่ปล่อยให้เลือดคลั่งของคนไข้สลายไปเอง แต่จะดำเนินการต่อสายยางเพื่อลำเลียงเลือดเหล่านั้นออกเพื่อป้องกันปัญหาเลือดคลั่งกายเป็นพังผืดในอนาคตครับ
มาตรฐานในทุกๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานในเรื่องของตัวซิลิโคน ที่ควรได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นจากคนไข้ในตัวทีมแพทย์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ทางทีมแพทย์ควรมีใบอนุญาตหรือใบประกอบวิชาชีพตั้งไว้เพื่อให้คนไข้สามารถเห็นและรับทราบได้ว่าทางทีมแพทย์และคลินิกมีความชำนาญและมีประสบการณ์จริงๆ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่คนไข้ต้องทำการบ้าน ศึกษารายละเอียดของการเสริมหน้าอกและรีวิวของคลินิกต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากๆ ครับ เนื่องจากมีคลินิกหลายๆ แห่งที่ยังไม่มีมาตรฐาน ซึ่งสามารถหลอกลวงคนไข้ได้ง่ายๆ ดังนั้น หากไม่อยากให้เกิดอาการเช่นนี้กับคนไข้ ก็ควรพิจารณา ไตร่ตรองอย่างละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนแรก เพื่อไม่ให้เจ็บตัวและเสียใจในภายหลังครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความ : อาหารต้องห้าม หลังทำ “ศัลยกรรม”
บทความ : 5 ตัวช่วยลดบวมช้ำหลังทำศัลยกรรม
บทความ : 4 ข้อควรรู้ก่อน “อัพไซส์” ศัลยกรรมเสริมหน้าอก แบบมั่นใจ ต้องอ่าน!!