สาวจมูกสั้นส่วนใหญ่อาจรู้สึกไม่มั่นใจบนใบหน้าหากต้องออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน วันนี้ผมจึงจะมาแนะนำวิธีการเสริมจมูกให้เข้ากับจมูกสั้นมากที่สุด ว่าแต่ควรใช้วิธีไหน ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร มาอ่านไปพร้อมกันเลยครับ
สาเหตุของจมูกสั้น
จมูกสั้นเป็นลักษณะของจมูกที่มีโครงสร้างกระดูกและกระดูกอ่อนกั้นกลางที่สั้น แม้ว่าจมูกสั้นจะเป็นลักษณะของจมูกที่พบได้บ่อยในชาวเอเชีย แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้จมูกสั้นลงได้ด้วย เช่น ได้รับการกระแทกบริเวณจมูก, การตะไบฮัมพ์ที่บ่อยเกินไปเพื่อเสริมจมูก, พ่นสารลดอาการคัดจมูกและการใช้สารโคเคน ทำให้กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูกถูกทำลาย โดยทั่วไปจมูกสั้นแบ่งเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ จมูกสั้นจากโครงสร้างของจมูกสั้นทั้งหมด (กระดูกแข็งและกระดูกอ่อนของจมูก), จมูกสั้นจากปลายจมูกเชิดมากเกินไป, จมูกสั้นจากสันจมูกด้านบนระหว่างคิ้วเตี้ยมาก และจมูกสั้นจากสาเหตุทั้งสามข้อแรกรวมกัน ซึ่งแต่ละประเภทจะมีวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป
ข้อควรระวังในการแก้จมูกสั้น
- สำหรับผู้ที่มีโครงสร้างจมูกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกอ่อนปลายจมูกที่ถูกขาซิลิโคนกดทับเป็นเวลานาน หรือฉีกขาดจากการผ่าตัดหลาย ๆ ครั้ง บางเคสจำเป็นต้องตรวจภายในโพรงจมูก หรืออาจตรวจด้วย CT-Scan เพื่อวางแผนในการผ่าตัดรักษา
- สำหรับผู้ที่มีผิวหนังหนา ผิวมัน หรือเป็นสิวเรื้อรัง อาจทำให้ยืดปลายจมูกได้ยาก แถมยังเกิดผังผืดได้ง่ายหลังการผ่าตัด ดังนั้นควรรักษาสิวก่อนผ่าตัดจะดีที่สุด
สาวจมูกสั้นแก้อย่างไรให้สวยกว่าเดิม
1. การเสริมจมูกแบบปิด (Closed Rhinoplasty)
คุณหมอจะใช้กระดูกหลังหูของคนไข้เสริมเข้าไปพร้อมกับซิลิโคน เพื่อรองรับปลายจมูกให้แข็งแรงและช่วยเพิ่มความโด่งของจมูก คุณหมอจะตัดกระดูกอ่อนชิ้นเล็ก ๆ บริเวณหลังใบหูมาใช้ เพื่อไม่ให้โครงสร้างหูของคนไข้เสียหาย เทคนิคนี้จะช่วยให้คนไข้ได้ปลายจมูกที่พุ่งสวย ไม่เสี่ยงต่อจมูกทะลุ แต่วิธีนี้ไม่อาจแก้ไขปัญหารูปทรงจมูกได้มาก เนื่องจากใส่ซิลิโคนในสันจมูกเพียงอย่างเดียว หมอจึงมองไม่เห็นโครงสร้างภายในจมูกทั้งหมด เสี่ยงต่อทรงจมูกเบี้ยว หรือเนื้อจมูกบางลง ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้ปลายจมูกเชิดหรือพุ่งขึ้น
2. การเสริมจมูกแบบเปิด (Open Rhinoplasty)
คุณหมอจะผ่าตัดเปิดแผลบริเวณฐานตรงปลายของรูจมูกทั้ง 2 ข้าง เพื่อเผยโครงสร้างภายในทุกส่วน เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ทรงจมูกได้หลากหลาย หากคนไข้ต้องการให้จมูกยาวขึ้น, เล็กลง หรือปรับแกนจมูกให้ตรงสวยก็ทำได้โดยใช้กระดูกอ่อน หรือเนื้อเยื่อสังเคราะห์เป็นตัวช่วยหลัก แตกต่างจากการเสริมจมูกแบบปิด (Closed Rhinoplasty) ซึ่งใช้ซิลิโคนเน้นการเสริมจมูกให้โด่งขึ้นเพียงอย่างเดียว วิธีนี้ช่วยลดปัญหาจมูกทะลุ, เบี้ยวหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แถมยังช่วยตกแต่งปลายจมูกให้ปลายเชิดและพุ่งขึ้นมากกว่าแบบปิด เพียงแต่ใช้ระยะเวลาระหว่างผ่าตัดค่อนข้างนานและมีราคาสูงกว่าแบบปิด การเสริมจมูกแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำศัลยกรรมจมูกมาแล้ว แต่มีเหตุให้ต้องปรับแก้ทรงจมูก
ทำจมูกแบบปิด Vs ทําจมูกแบบเปิด สาวจมูกสั้นทำแบบไหนดีกว่ากัน?
กรณีที่คุณมีพื้นฐานจมูกดีอยู่แล้ว มีเนื้อจมูกเยอะ หรือทำจมูกเป็นครั้งแรก แนะนำให้ทำแบบวิธีปกติหรือ Closed Rhinoplasty เพราะจะป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการใส่ซิลิโคนด้านใน ลดโอกาสเสี่ยงต่อจมูกทะลุ แต่หากคุณต้องการให้จมูกมีปลายเชิด เรียวเล็ก หรือเคยทำจมูกมาก่อนแล้วต้องปรับแก้หรือแต่งทรงจมูก ผมขอแนะนำให้ทำแบบเปิดจะตอบโจทย์มากกว่าครับ
YKJ Medical Center (ชื่อเดิม “ธีระธรฌ์คลินิก”) ก่อตั้งโดยคุณหมอกัน นพ. รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ แพทย์ผู้ชำนาญด้านศัลยกรรมความงามและการปรับรูปหน้าระดับนานาชาติ ประสบการณ์กว่า 20 ปี โดดเด่นในหลากหลายหัตถการ เช่น เสริมจมูกโอเพ่น , ทำตาสองชั้น , ดึงหน้า , เสริมหน้าอก , ฉีดฟิลเลอร์ และอื่นๆ
คุณหมอกันเป็นผู้บุกเบิกการทำจมูกเทคนิคโอเพ่นรายแรกๆ ในประเทศไทย และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายด้านความงามหลายครั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแก้จมูก การทำจมูกเทคนิคโอเพ่น โดย YKJ Medical Center ได้รับรางวัลมากมาย อาทิเช่น
- “THE MOST TRUSTED OPEN TECHNIQUE RHINOPLASTY SPECIALIST 2023” คลินิกที่น่าเชื่อถือที่สุด ในการทำศัลยกรรมจมูกโอเพ่นในประเทศไทย จาก HELLO! MAGAZINE ประจำปี 2023
- “THE BEST OF OPEN RECONSTRUCTION RHINOPLASTY” คลินิกยืน 1 ด้านการแก้จมูก และทำจมูกจมูกด้วยเทคนิคโอเพ่น จากสุดสัปดาห์ ประจำปี 2022 – 2023 สองปีซ้อน
- “Customer High Recognition Award 2023” รางวัลคลินิกที่มียอดใช้ผลิตภัณฑ์ Galderma (Filler Restylane) สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ประจำปี 2023
นอกจากคุณหมอกันแล้ว YKJ Medical Center ยังมีแพทย์มากประสบการณ์ท่านอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน สามารถมั่นใจได้เลยว่าเมื่อมาที่ YKJ Medical Center แล้ว จะได้รับมาตรฐานการดูแลรักษาที่ดี ในราคาที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน