ขูดฟิลเลอร์ร่องแก้ม เป็นวิธีแก้ไขหลังเกิดผลข้างเคียงกับคนไข้ที่ฉีดฟิลเลอร์บริเวณร่องแก้ม สาเหตุของการขูดฟิลเลอร์นั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ฟิลเลอร์ไหล ย้อย หรือฟิลเลอร์เป็นก้อน เป็นต้น ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลข้างเคียงนั้นๆ ของคนไข้แต่ละท่านด้วย เช่น หากฟิลเลอร์จับต้องกันก้อนใหญ่มาก ก็อาจจะต้องขูด แต่หากเป็นลักษณะทั่วไปก็สามารถฉีดสลายได้ หรือฉีดฟิลเลอร์เพื่อทับฟิลเลอร์ชั้นเก่าที่ขรุขระเป็นคลื่นให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุของฟิลเลอร์ปลอม ที่คนไข้จำเป็นต้องมาขูดออก เพราะหากปล่อยไว้ อาจเกิดการแพ้และเสียโฉมได้เลยทีเดียวครับ ซึ่งในกรณีของการขูดฟิลเลอร์ ณ บริเวณร่องแก้มนั้น จะเป็นอย่างไร มีขั้นตอนมากน้อยแค่ไหน คนไข้จะเจ็บหรือเปล่า ในบทความนี้มีคำตอบครับ
ขูดฟิลเลอร์ร่องแก้ม มีขั้นตอนอย่างไร ใครบ้างที่ต้องขูด เจ็บหรือไม่?
ฟิลเลอร์คือ สารที่ถูกสร้างเลียนแบบเซลล์ผิวของเราตามธรรมชาติ คือสารไฮยาลูโรนิกแอซิด (Hyaluronic Acid หรือเรียกสั้นๆว่า HA) ซึ่งเป็นสารช่วยเติมเต็มร่องลึกต่างๆ ในชั้นผิวหนังของเราให้ดูเต่งตึงมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังสามารถปรับแก้ไขข้อบกพร่องโครงสร้างบริเวณใบหน้าได้ด้วย ซึ่งหากอยากฉีดฟิลเลอร์อย่างปลอดภัย คนไข้ต้องเข้ารับการฉีดจากคลินิคที่ได้มาตรฐานและทีมแพทย์ที่ชำนาญ แต่หากฉีดร่องแก้มด้วยฟิลเลอร์ปลอม ก็ต้องกลับมาขูดออกตามที่ได้กล่าวข้างต้น
ประเภทของฟิลเลอร์ปลอม
1.กลุ่มถาวร (Permanent Filler)
เช่น ซิลิโคนเหลว หรือน้ำมันพาราฟิน ฟิลเลอร์ประเภทนี้ไม่สามารถสลายออกได้ เมื่อเวลาผ่านไปผลข้างเคียงตามมาเยอะมาก เป็นสารที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย.
2.กลุ่มกึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler)
เช่น สาร PMMA (Polymethyl-methacrylate) สารโพลีอัลคิลลิไมด์ (Polyakylimide) Polyamine (Aqualift), Hydrofilic gel สารสังเคราะห์ชนิดนี้บางส่วนสามารถสลายออกได้แต่บางส่วนไม่สามารถสลายออกได้
อันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่ร่องแก้ม
แม้การฉีดฟิลเลอร์ปลอมในช่วงแรกๆ นั้นจะดูสวยและเรียบเนียนตามปกติ แต่หากปล่อยเวลาผ่านไป คนไข้อาจเกิดอาการแพ้ และ
- เมื่อเวลาผ่านไปโดยประมาณ 2-5 ปี ฟิลเลอร์ปลอมจะเริ่มแข็งเป็นก้อนเป็นลำ หรือไหลกองลงมาเป็นก้อน ทำให้ผิวบริเวณนั้นไม่เรียบเนียน
- ทำให้เกิดการบวม ห้อยย้อย เป็นก้อนเป็นลำ แข็งนูน
- ผิวบริเวณนั้นอาจเกิดอาการบวมแดง หรือติดเชื้อเกิดการอักเสบ
- บริเวณผิวหนังที่ฉีดอาจเกิดการผิดรูปไปจากเดิม
- ที่แย่ที่สุด อาจเกิดเนื้อตาย และเกิดพังผืดบริเวณนั้นๆ
- ไม่ค่อยอยากพบปะผู้คน สูญเสียความมั่นใจ และกลัวการฉีดฟิลเลอร์
การขูดฟิลเลอร์ปลอมบริเวณร่องแก้ม
การขูดหรือผ่าตัดออก เป็นวิธีที่ใช้ในกรณี การถูกฉีดฟิลเลอร์ปลอม เป็นวิธีที่สามารถนำฟิลเลอร์ออกได้เพียง 70% เท่านั้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสูง และมีค่าใช้จ่ายที่สูงอีกด้วยสำหรับจุดที่มักจะเกิดปัญหาบ่อย ๆ คือ คางและจมูก ซึ่งเกิดจากการไหลของฟิลเลอร์ เป็นก้อน ทำให้คางและจมูก หรือบริเวณนั้นๆ เสียทรงครับ โดยขูดออกจะสามารถนำฟิลเลอร์ออกได้ประมาณ 60-70% เท่านั้นไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด
ขูดฟิลเลอร์อันตรายไหม
ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนั้น จะขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้แต่ละคน เช่น ฟิลเลอร์อาจจะเกาะกับผิวหนังจนเกิดพังผืดจึงทำให้บางส่วนขูดออกได้ไม่หมด หรือสำหรับบางคนหากฟิลเลอร์สลายหมดแล้ว จะเป็นเพียงการขูดพังผืดที่เกิดมาแทนที่ฟิลเลอร์ที่เคยอยู่เท่านั้น ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด ควรเข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยประเมินว่า ฟิลเลอร์ที่มีอยู่นั้นสามารถทำการขูดออกได้หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อผิวในระยะยาวอีกด้วย
การดูแลหลังการขูดฟิลเลอร์
หลังจากทำการขูดฟิลเลอร์แล้ว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ เพื่อให้แผลหายไวมากขึ้น
- ในช่วง 2-3 วันแรกอาจจะมีอาการบวมหรือช้ำได้ ให้ทำการประคบเย็นบริเวณที่มีอาการบวม หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์จะเริ่มเข้าที่
- พยายามอย่าไปจับ แคะ แกะ หรือเกาบริเวณที่ทำการขูดฟิลเลอร์ออก
- งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 1-2 เดือน
- ทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน
- เข้าพบแพทย์ตามใบนัดหมาย
ท้ายที่สุด การระมัดระวังตัวตั้งแต่ขั้นตอนแรกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดครับ เพราะมีคนไข้ในหลายๆ เคส รู้เท่าไม่ถึงการ เข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมจากหมอกระเป๋า หรือ หมอเถื่อน ที่โน้มน้าวด้วยคนไข้ด้วยราคาที่ถูกกว่าคลินิกทั่วไป อีกทั้งในหมอเถื่อนบางรายก็เป็นมิจฉาชีพ ไม่มีวิชาชีพ ไม่มีความชำนาญจริง จึงเป็นผลทำให้คนไข้ได้รับอันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นร่องแก้ม หรือบริเวณใดก็ตามที่คนไข้ต้องการฉีดฟิลเลอร์ ต้องพึงคิดไว้เสมอว่า ไม่ควรหลวมตัวเพียงเพราะฟิลเลอร์นั้นมีราคาที่ถูก แต่ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองไว้เป็นที่ตั้ง เพื่อที่จะสวยอย่างไม่เสียโฉมนะครับ