“เสริมคางแล้วเป็นรอยต่อ” เมื่อพูดถึงเรื่องแผล หรือรอยแผลเป็นต่างๆ แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในกรณีใด ก็มักจะสร้างความรำคาญให้กับเราอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อแผลหรือรอยต่างๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นกับแผลหลังการผ่าตัดเสริมคาง ก็จะยิ่งทำให้คนไข้รู้สึกสูญเสียความมั่นใจได้ง่ายมากๆ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธไดเลยว่า เมื่อมาทำคางแล้ว ใครๆ ก็อยากให้ผลของการผ่าตัดผ่านไปได้ด้วยดี แต่หากเกิดรอยแผลหรือรอยต่อ ก็ไม่วายต้องมาแก้คางใหม่อย่างแน่นอน

“เสริมคางแล้วเป็นรอยต่อ” เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
ในการเสริมคางนั้น สิ่งที่คนไข้มักเป็นกังวลคือเรื่อง “รอยแผล” เพราะการเป็นรอยแผลหรือรอยต่อบนใบหน้านั้นจะสามารถเห็นได้ชัดกว่าบริเวณอื่นๆ ดังนั้น การที่จะให้คางของคนไข้นั้นเรียบเนียนได้และไร้รอยต่อ จึงต้องเกิดจากขั้นตอนในการศัลยกรรมคางที่ดีเสียก่อน เพราะนอกจากจะสวยไร้รอยต่อแล้ว ก็ต้องแก้ปัญหาโครงหน้าของคนไข้ และมีสัดส่วนที่เหมาะ รับกับใบหน้าของคนไข้ด้วยนั่นเอง
รู้จักแผลเป็น
แผลเป็น คือ รอยที่เหลือหลังจากบาดแผลหายสนิท หากแผลเป็นอยู่ในแนวเดียวกับรอยย่นผิวหนัง แผลเป็นจะไม่ชัด เพราะซ่อนไปในแนวผิวหนัง ดังนั้นแผลเป็นจากอุบัติเหตุจึงมักชัดเจนกว่าแผลจากการผ่าตัด
ลักษณะแผลเป็น
แผลเป็นที่มีปัญหาแยกได้ตามลักษณะ ได้แก่
- ปัญหาแผลนูนมักเกิดจาก 2 ภาวะ คือ
แผลคีลอยด์ (Keloid) เป็นแผลที่นูนออกนอกขอบเขตของแผลเดิมมาก มีอาการคัน มักเกิดบริเวณหน้าอกจากการผ่าตัดหัวใจ จากการเป็นสิวที่ร่องอก บริเวณหัวไหล่จากการปลูกฝี ติ่งหูหลังการเจาะหู หรือเป็นที่อื่น ๆ และปัจจัยทางพันธุกรรมเสริม
- แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายเพื่อให้แผลหาย แผลเป็นอยู่ในขอบเขตของแผลเดิม
- แผลเป็นหลุม
- แผลยืดกว้างจากรอยเย็บเดิม
- แผลที่มีการดึงรั้ง (Scar Contracture) โดยเฉพาะเมื่อแผลเชื่อมโยงระหว่างข้อต่อ
- แผลที่มีความตึง
ความเสี่ยงและผลข้างเคียง
- ความเสี่ยงทั่วไป
- ปวดแผล แต่สามารถบรรเทาอาการปวดได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด
- ความเสี่ยงเฉพาะ
- แผลอาจจะหายแล้วพบว่ากว้างขึ้นหรือนูนขึ้นอีกได้ โดยทั่วไปถ้าหากแก้ไขโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางแล้วโอกาสหายจะดีกว่า เพราะมีวิธีการเย็บปิดแผลโดยลดความตึงและอาจจะเปลี่ยนทิศทางให้ความตึงของแผลน้อยลง
วิธีการรักษาแผลเป็น
การรักษาแผลเป็นมีหลายวิธี ได้แก่
การฉีดยารักษาแผลเป็น
เป็นการฉีดสเตียรอยด์เข้าในก้อนแผลเป็น เพื่อให้ก้อนนิ่มลง ลดขนาด ลดอาการคัน และลดความนูนของแผล โดยปกติจะฉีดห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์ โดยทั่วไปจะต้องฉีดต่อเนื่องจนกว่าก้อนยุบลง เนื่องจากถ้าหยุดฉีดแล้วมักเกิดแผลเป็นใหม่ได้ จึงต้องนัดติดตามอาการต่อทุก 2 – 3 เดือน ปัญหาที่พบบ่อยหลังการฉีดคือ ผิวหนังบางไขมันยุบ ซึ่งแก้ไขได้ยาก การฉีดต้องใช้ความระมัดระวังด้านปริมาณของยาและตำแหน่งเข็ม การตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยส่วนบุคคลจึงควรฉีดโดยแพทย์เฉพาะทาง
การใช้เลเซอร์ (Vbeam หรือ Pulsed Dye Laser Treatment)
เพื่อลดอาการแดง และลดเส้นเลือดบริเวณที่ฉีดยา
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น (Scar Revision)
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตัดแผลเป็นทั้งหมดออก แล้วทำการเย็บใหม่ ซึ่งแผลใหม่ที่เย็บจะเป็นเส้นไม่มีขาตะขาบ
- ตัดบางส่วนของแผลที่มีปัญหาออกแล้วทำการเย็บบริเวณดังกล่าว และเมื่อแผลหายดีแล้วจึงทำการตัดส่วนที่เหลือของแผลเป็นออกอีกครั้งจนหมด หรือรักษาส่วนที่เหลือด้วยการฉีดสเตียรอยด์ มักใช้ในแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถตัดครั้งเดียวได้หมด
- แผลที่อยู่ตำแหน่งตึงจะต้องเปลี่ยนทิศทางการเย็บใหม่เพื่อให้แผลลดความตึงตัว
เสริมคาง ให้สวยเนียน ไร้รอยต่อ แผลนอก VS แผลใน?
เสริมคางแผลนอก
วิธีนี้แพทย์จะทำการเปิดแผลด้านนอก ตรงบริเวณใต้คาง ความยาวของแผลจะมีขนาด เล็กนิดเดียว ประมาณ 1 – 1.5 ซม. แล้วใส่ซิลิโคน ไปตามตำแหน่งที่ต้องการ แล้วทำการเย็บปิดแผล ใช้เวลาในการผ่าตัด ประมาณ 30-45 นาที ซึ่งความยากหรือง่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละเคสครับ

ข้อดีของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านนอก
ดูแลง่าย แผลหายเร็ว
วางตำแหน่งซิลิโคนได้อย่างแม่นยำ
ไม่เป็นก้อน ไม่ห้อยย้อย
ไม่เสี่ยงการติดเชื้อ
ไม่เกิดการอักเสบภายในช่องปาก
เสริมคางแผลใน
วิธีนี้แพทย์จะทำการเปิดแผลข้างในปาก ตรงบริเวณซอกเหงือกตรงริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลจะมีขนาดประมาณ 1.5 – 2 ซม. หลังจากนั้นจะแยกเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกตรงบริเวณขอบล่างขึ้นมา แล้วทำการใส่ซิลิโคนเข้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วทำการเย็บปิดแผล โดยจะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชม. ครับ
ข้อดีของการเสริมคางแบบเปิดแผลด้านใน
ผ่าตัดในช่องปาก ไม่เห็นรอยแผลเป็นด้านนอก
ไม่ต้องตัดไหม แผลหายไว
ดูแลรักษาง่าย
แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญสูง
การเสริมคางด้วยการเปิดแผลทั้ง 2 แบบ เป็นสิ่งที่หมอและคนไข้ต้องทำการปรึกษาเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดร่วมกันครับ แต่ก่อนอื่นหมอจะทำการประเมินและพิจารณาองค์ประกอบของใบหน้าทุกๆ ส่วนไม่ว่าจะเป็น หน้าผาก จมูก และกรามก่อนการผ่าตัดเสริมให้คนไข้ก่อน เพื่อให้ได้สัดส่วนคางที่เหมาะสม เข้ากับรูปหน้า และความต้องการของคนไข้แต่ละท่านด้วย
อย่างไรก็ดี ในการ เสริมคางแล้วเป็นรอยต่อ คนไข้อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสานกัน ประมาณ 2-3 วิธี เพื่อให้ได้เห็นผลมากที่สุดครับ เนื่องจากจวบจนปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาแผลเป็นที่หายแบบ 100% คนไข้จึงต้องอาศัยการรักษาเช่นนี้ ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ด้วยว่าการรักษาแผลควรมีแผนแบบใด เนื่องจากคนไข้แต่ละเคสจะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงควรให้ศัลยแพทย์แนะนำจะดีที่สุดครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Q&A – 7 คำถามยอดฮิตที่คนอยาก”ทำคาง”ต้องรู้
คางสั้น คางไม่มี ? เสริมคางอย่างไรให้เข้ากับใบหน้า
ฉีดฟิลเลอร์-ไขมัน แล้วคางเป็นก้อน แก้ยังไงดี?